วันครบรอบ 60 ปีการละสังขารหลวงปู่มั่น 11 พ.ย.2553

วันที่ 11 พฤศจิกายน วันครบรอบ 60ปีการละสังขารหลวงปู่มั่น

หากเราหลับตาลองนึกภาพว่าหากไม่มีหลวงปู่มั่นในประเทศไทย แล้วจะเกิดอะไรขึ้นอาจจะไม่มีพระป่า ศาสนทายาทที่สืบพระศาสนาที่เน้นการปฏิบัติในแก่นแท้ของศาสนาก็จะไม่มีการ เรียนรู้ในหลักการภาวนาที่แท้จริงก็จะไม่เกิดขึ้น บุคลากร เช่น หลวงปู่ต่างๆ ก็ไม่มีในสารบบ

การ ที่หลวงปู่มั่นท่านได้เน้นการสร้างพระให้เป็นพระในปัจจุบัน
จึงนับว่าเป็นการปฏิวัติวงการคณะสงฆ์ ในภาคปฏิบัติ
มีคุณูปการในการสืบพระศาสนาในประเทศไทยอย่างแท้จริง

ศาสนิกชนในประเทศไทยจึงเป็นหนี้บุญคุณอันล้น พ้นประมาณของท่านอย่างใหญ่หลวง



ใน ข้อมูลปัจจุบัน พระสายวัดป่าทั่วประเทศเกือบทั้งหมดสืบเชื้อสายมาจากสายหลวงปู่เสาร์และหลวง ปู่มั่น
มีพระปฏิบัติดีเป็นแบบอย่าง มากมาย นับแต่ศิษย์รุ่นแรกของท่าน เช่นหลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน หลวงปู่ดูลย หลวงปู่ฝั้น และอีกมากมายทั้งที่ปรากฏนามและที่ไม่ได้เปิดเผยตัวตนเพราะอยู่ในป่าลึกก็มี มาก สืบทอดปฏิปทาแบบอย่างพระที่แท้มาจนปัจจุบัน


ลักษณะที่พระอาจารย์มั่นเน้นในการสืบพระศาสนาจนได้ผลจนถึง ปัจจุบันมีดังนี้

1.การเริ่มต้น ที่ตนเอง นำตนเองเป็นพยาน เป็นเครื่องพิสูจน์ ให้เห็นจริง เป็นการยืนยันว่ามนุษย์นั้นทำได้ไม่เหลือวิสัย โดยดูจากท่านเองเป็นชาวบ้านคำบง เกิดมาในชนบทที่ห่างไกลสุดปืนเที่ยงก็สามารถพัฒนาตนจนบรรลุธรรมได้จริง พระอรหันต์จึงไม่ใช่เป็นเพียงในตำนานในคัมภีร์ เท่านั้น
2.การเน้นการสร้างคน มากกว่าการสร้างวัตถุใด ตลอดชีวิตของท่านไม่มีที่ใดที่ท่านสร้างวัตถุไว้ให้ยึดถือแต่อย่างใดแต่กลับ เน้นที่การสร้างคนคือพระจำนวนมาก จึงมีนับร้อยที่ได้กราบขอเป็นลูกศิษย์ท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้รับไว้ทั้งหมด บางรายที่ทำไม่ดีท่านก็ไล่ออกจากวัด

3.ท่านเน้นในเรื่องการปฏิบัติโดยไม่ได้ตามตำรา แต่เน้นการศึกษาในพระธรรมอย่างถ่องแท้ ไม่ได้หมายความว่าไม่ศึกษาธรรม เพราะท่านเองก็ได้ขวนขวายมาเล่าเรียนกับท่านเจ้าคุณอุบาลีที่กรุงเทพฯควบคู่ กับการปฏิบัติ ท่านสามารถเทศน์อธิบาย ขยายความ ข้อธรรมต่างๆ ทั้ง พระวินัย พระอภิธรรม และเขียนเป็นบทประพันธ์ได้อย่างไพเราะและแฝงด้วยข้อธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง จนยากยิ่งที่จะหาพระที่เทศน์ได้กินใจ จนเจ้าคุณอุบาลี ยกย่องชมเชยว่า ข้อธรรมที่หลวงปู่มั่นท่านเทศน์นั้นเป็น "มุตโตทัย" คือหนทางหลุดพ้นอย่างแท้จริง

4.การ สอนรายบุคคลไม่ซ้ำกัน อันเป็นปัจจัตตัง หากเป็นภาษาสมัยใหม่คือ individual development plan (IDP) จากประวัติหลวงปู่องค์ต่าง ๆ ที่เล่าขานกันมา พบว่าท่านมีกลอุบายวิธีที่แยบยล จนคนถูกสอนต้องยอมรับแบบหมอบราบคาบแก้ว ไม่มีข้อโต้แย้งหรือมานะทิฏฐิใด ๆ เหลืออยู่ เช่น หากเป็นพวกที่ขี้กลัวเสือ ท่านส่งให้ไปอยู่ป่าทางเสือผ่าน พวกที่กลัวผี ท่านจะส่งไปอยู่ป่าช้า พวกปัญญามาก
ท่านจะสอนด้วยการวิสัชนา ถามตนเอง จนสิ้นสงสัย และการบอกสอนของท่านก็ไม้ซ้ำรูปแบบ แม้การญัตติ(บวช)เป็นธรรมยุติ บางองค์ท่านทำให้บ้าง แต่บางองค์ท่านบอกไม่จำเป็น เช่น ในกรณีหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อคณะสงฆ์ไทยสายวัดป่าในเวลาต่อมาอย่างมาก ว่าการปฏิบัติที่เข้นข้นที่มิใช่จำกัดอยู่เพียงในนิกายธรรมยุติเท่านั้น

5.ความเมตตาอันไม่มีประมาณต่อหมู่คณะ แทนที่ท่านจะบรรลุธรรมเพียงคนเดียวแล้วอยู่ในป่า ท่านกลับเกื้อกูลหมู่คณะ ตั้งแต่ภาคอิสาณจรดภาคเหนือ ในแต่ละช่วงที่ท่านบรรลุธรรม ท่านจะนำพาหมู่คณะไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งเมื่อถึงช่วงสุดท้ายสิบปีในชีวิตท่านเมื่อกลับมาอิสานอีกรอบท่านก็ ได้สั่งสอนลูกศิษย์อย่างไม่เหน็ดเหนื่อยแม้อยู่ในวัยชรามากแล้ว และได้สอนพระอริยะอีกหลายองค์ต่อมา องค์หนึ่งในนั้นที่ท่านได้สอนที่บ้านหนองผือนาในคือท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน พระอริยะในยุคปัจจุบันที่สืบต่อเชื้อสายวงศ์วัดป่ามาจากมหาบูรพาจารย์นั่น เอง นอกจากนั้น กรณีชาวเขาชาวป่าที่กล่าวหาท่านว่าเป็นเสือเย็นก็เช่นกัน ท่านไม่ประสงค์ให้พวกนั้นต้องมีวิบากกรรม จึงอยู่ในหมู่บ้านนั้นเมตตาโปรดสั่งสอนชาวเขาเข้าใจถูกต้องแล้วจึงจากไป อีกกรณีที่ท่านเห็นแววอริยะท่านก็จะไปโปรด เช่น แม่ชี้กั้งขาวที่บ้านหนองผือนาในที่แม้อยู่ในป่าลึกมาก ท่านได้เห็นว่ามีแววที่จะบรรลุธรรมท่านได้ท่านก็จะเมตตาสั่งสอนจนเป็นผล สำเร็จ

ความ เมตตาอันไม่มีประมาณของท่านที่ได้เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศ ในการสร้างพระอริยะให้เดินตามท่านมากมายนี้จึงเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อ สังคมไทย เป็นการสืบพระศาสนาอย่างแท้จริงให้อยูในดินแดนสุวรรณภูมินี้

ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบหนึ่งร้อย สีสิบปี (2413-2553 ) เราจึงควรตั้งจิตคารวะมหาบูรพาจารย์ ที่มีบุญคุณอันยิ่งใหญ่ต่อพวกเราจนปัจจุบัน
และควรที่จะมีการยกย่องเทิดทูนภารกิจที่ท่าน ได้ทำมาแก่สังคมไทยมากกว่านี้

ที่มา : คัดลอกจาก board.palungjit.com