งานศพออกแบบได้

การตายในทัศนะของพระพุทธศาสนา หมายถึง การดับของสังขารทั้งปวงของมนุษย์และสัตว์ ไม่ว่ากายสังขาร คือลมหายใจเข้าออกก็ดับไป ความตรึก ความตรองก็ดับไป ความกำหนดได้ หมายรู้ ความรู้สึกก็หมดไป อายุก็สิ้นไออุ่น คือ ไฟที่เกิดแต่กรรมก็สงบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็แตกสลายไป

พิธีกรรมการจัดการกับความตายที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานความเชื่อ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงระหว่างโลกที่ตัวเองรู้จักกับโลกที่มีความลึกลับที่เจือด้วยความหวาดกลัวจากความไม่รู้ ดังนั้นความตายจึงมิใช่จุดสิ้นสุดของชีวิตแต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งใหม่ในอีกสภาวะหนึ่งโดยมีจุดหมายร่วมกันคือปรารถนาให้ผู้ที่จากไปมีความสุข

ท่ามกลางความสูญเสียจากการตาย พุทธศาสนาสอนให้เผชิญความจริงที่ไม่มีใครหนีพ้น ได้ปลงสังเวช ปล่อยวางจากความยึดมั่นถือมั่น ดำรงตนให้อยู่ในศีลในธรรมด้วยความไม่ประมาท ภูมิปัญญาโบราณอันทรงคุณค่าพยายามซึมซับหลักธรรมสอดแทรกเข้าไปในพิธีกรรมที่จัดขึ้นมาเพื่อโอบอุ้มความรู้สึกผู้ที่เหลืออยู่ที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาของการทำใจน้อมสู่การยอมรับการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก ในรูปแบบปริศนาธรรมที่แฝงกระบวนการจัดใจในแต่ละขั้นตอน

หลวงปู่เนย สมจิตฺโต ละสังขาร


พระครูวิมลสีลาภรณ์ หรือหลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ละขันธ์แล้ว เมื่อเวลา 16.32น.วานนี้ สิริรวมอายุ 75ปี 55 พรรษา
หลวงปู่เนย มีนามเดิมว่า เนย มูลสธูป เกิดเมื่อวันที่ 17ก.ย.2480 ที่บ้านกุดแห่ ต.กุดเชียงหมี อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี หรือ จ.ยโสธร ในปัจจุบัน อุปสมบทตั้งแต่อายุ 20ปี เป็นศิษย์ พระมหาเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระอีกหลายรูปในสาย วิปัสสนาธุระซึ่งมีพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระอาจารย์ใหญ่ อาทิ พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก พระอาจารย์บัว สิริปุณฺโณ พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร ฯลฯ หลวงปู่เนยเป็นพระสุปฏิปันโนซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป แต่สุขภาพไม่แข็งแรง อาพาธหนักมาตั้งแต่ปี 2554 ก่อนจะละสังขารดังกล่าว

หลวงปู่เนย ละสังขาร - โพสต์ทูเดย์ ข่าวกทม.-ภูมิภาค