การครองจีวรของพระภิกษุสงฆ์

แบบการครองจีวรของพระสงฆ์ เดิมในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจน มีในเสขิยวัตรว่า "ให้ทำความสำเหนียกว่า จักนุ่งจักห่มให้เป็นปริมณฑล คือเรียบร้อย ... พึงนุ่งปิดสะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อย พึงทำชายทั้งสองให้เสมอกัน ห่มให้เรียบร้อย ในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรม ให้ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า" ซึ่งก็คือห่มจีวรเฉวียงบ่า

ในการเข้าบ้าน กล่าวว่า "ห่มสังฆาฎิทั้งหลายทำให้มีชั้นและกลัดดุม แต่กำชับไว้ให้ปิดกายด้วยดี ห้ามไม่ให้เปิดไม่ให้เวิกผ้าขึ้น" สันนิษฐานว่าคือการห่มคลุมทั้งสองบ่า

พระภิกษุสงฆ์มหานิกายในประเทศไทยมีการครองผ้าจีวร หลายประเภทเช่น "ห่มดอง" , "ห่มลดไหล่" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า"(เวลาลงสังฆกรรม),"ห่มคลุม"(เวลาออกนอกอาราม) และ "ห่มมังกร"



ห่มลดไหล่
การห่มผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบธรรมยุตสีกลัก มีสังฆาฏิพาด ที่พระธรรมยุตินิกายปัจจุบันนิยมครอง

"ห่มลดไหล่" "ห่มเฉียง" หรือ "ห่มเฉวียงบ่า"ซึ่งเป็นการห่มที่ใช้ในการแสดงความเคารพ ปัจจุบันใช้ในการห่มในเขตวัด โดยนำผ้าจีวรผืนหนึ่งมาพันตัวชายจรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบวางบนบ่า

ห่มคลุม

ห่มคลุม หมายถึงการคลองจีวรด้วยการม้วนผ้าชายจรดชายม้วนเข้าหาตัวลูกบวบมา วางบนบ่าคลุม 2 บ่ามิดชิดดี ใช่ในการห่มออกนอกวัด ซึ่งถ้าไม่ห่มคลุมในเวลาออกนอกเขตวัด(เขตติจีวรวิปวาโส)ต้องอาบัติทุกกฎ ปัจจุบันมักห่มดองออกนอกวัดโดยถือเป็นเรื่องธรรมดาว่าถูกต้อง โดยเฉพาะภาคเหนือ ทั้งๆที่ผิดวินัย

ห่มดอง
การห่มดองหรือการครองผ้าของภิกษุที่มีผ้าประคดอกและสังฆาฏิพาดไหล่ สีเหลืองแสดที่พระสงฆ์มหานิกายนิยมครองในปัจจุบัน

การห่มดอง หมายถึง การครองผ้าลดไหล่ของภิกษุแบบธรรมยุต มีสังฆาฏิพาด คือการครองผ้าจีวรอันเป็นปริมณฑล (ห่มครบไตรจีวร) ที่เรียกว่า "ห่มดอง" กระทำโดยมีการพับจีวรเป็นทบแล้วคลี่ทาบมาที่บ่าชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงนำผ้าสังฆาฎิซึ่ง พับเป็นผืนยาวมาพาดไหล่ด้านซ้ายของผู้ห่มก่อนที่จะนำ "ผ้ารัดอก" มารัดบริเวณอกอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเป็นการห่มที่เป็นที่นิยมทั่วไปของพระสงฆ์มหานิกาย ซึ่งดูเรียบร้อยและทะมัดทะแมงแน่นหนา เนื่องจากมีผ้ารัดอก ข้อเสียคือเปิดสีข้างดูไม่งาม อีกทั้งไม่ใช่การครองจีวรที่มีมาตามพระบรมพุทธานุญาติ เนื่องจากผ้ารัดอกไม่มีในอัฏฐบริขาร

ห่มมังกร
ห่มมังกร หมายถึงการครองผ้าที่หมุนผ้าลูกบวบไปทางขวา เมื่ออยู่ในวัดจะห่มเฉวียงบ่า และห่มคลุมในเวลาออกนอกวัด เป็นการห่มตามธรรมเนียมของพระมหานิกาย (ปัจจุบันยังมีบางวัดนิยมการห่มแบบนี้อยู่ โดยมากจะเป็นวัดมหานิกายในกรุงเทพมหานครเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาสูง)  ที่ถือว่าถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาติ คือ "ชายจรดชายม้วนขวาหรืออีกนัยหนึ่งแปลว่าข้างนอก(พาหันตะ)คือม้วนออกข้างนอกตัวซึ่งก็เข้ากันได้กับการม้วนขวา[14]วางบนแขน" การที่ม้วนขวาเนื่องจากในสมัยพุทธกาลถือว่าการม้วนขวานั้นเป็นมงคล(ประทักษิณ)ถ้าห่ม"บิดขวา" เป็นการห่มแบบมหานิกายแท้ เป็นวัตรปฏิบัติในการครองจีวรของพระสงฆ์มหานิกาย หรือพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทยก่อนที่จะมีคำสั่งของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมดนั้น (ปัจจุบันพระฝ่ายมหานิกายส่วนมากนิยมหมุนซ้ายแบบธรรมยุตหรือพระรามัญไปแทบทั้งสิ้น)

สันนิฐานว่าสมณะนอกศาสนานั้นย่อมห่มชายจรดชายม้วนขวาม้วนเข้าหาตัวลูกบวบ วางบนบ่าเช่นเดียวกันเพราะสังคมอินเดียสมัยนั้นถือว่าม้วนขวา (ประทักษิณ) เป็นมงคล ม้วยซ้ายเป็นกาลกิณี แต่ว่าน่าจะวางไว้ที่บ่าขวาเมื่อห่ม เฉวียงบ่าจะเปิดไหล่ซ้าย เช่นเดียวกับนักบวชของศาสนาฮินดูหรือนอกศาสนาพุทธในประเทศอินเดียที่นิยม เปิดบ่าซ้าย (สังเกตได้แม้ในปัจจุบันนี้) ดังนั้นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจึงวางไว้ที่บ่าซ้ายและเปิดบ่าขวาเพื่อเเสดงถึง ความแตกต่าง


ที่มา : http://th.wikipedia.org